บทความใน Blog นี้ เป็นบทความที่รวบรวมมาจากสาขาวิทยบริการต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง จาก Website ต่าง ๆ และจัดทำขึ้นเอง เพื่อสะดวกในการศึกษาค้นคว้า(ต้องขออภัยที่ไม่ได้ขออนุญาตผู้เป็นเจ้าของข้อมูล ในการเผยแพร่อย่างเป็นทางการ) คำบรรยายของอาจารย์ทุกท่านอาจจะมีข้อหรือคำผิดพลาด อันเนื่องมาจากการพิมพ์และการตีความของผู้พิมพ์และผู้เรียบเรียงได้ ขอให้ผู้ศึกษาโปรดใช้วิจารณญาณ ขอขอบพระคุณเจ้าของผลงานทุกท่าน พร้อมอาจารย์ทุกท่านที่ได้มอบความรู้และคุณธรรมให้แก่ลูกศิษย์ด้วยความเมตตา

3 มิถุนายน 2554

สรุปแนวข้อสอบหลักกรรมสิทธิ์ในที่ดิน

เอกสารเตรียมสอบหลักกรรมสิทธิ์ที่ดิน
จ.อ.นิคม  เภาพาน
หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต
                                     
                                         สรุปหลักกรรมสิทธิ์ในที่ดิน 


กรรมสิทธิ์ในที่ดินมีวิวัฒนาการมาจาก  ทฤษฎี สามัญชนทุกคนควรมีสิทธิเป็นเจ้าของที่ดิน   ของ John Lock นักปราชญ์ชาวอังกฤษ  เชื่อว่า สิทธิความเป็นเจ้าของที่ดินเกิดจากแรงงานที่ผู้ใดใช้ในการทำที่ว่างเปล่าให้เป็นไร่  นา  สวน   ผู้ใดใช้แรงงานของตนทำไร่  นา สวน ย่อมเป็นเจ้าของที่นั้นโดยสิทธิเด็ดขาด (  Absolute)   จะซื้อ  หรือ จะสืบทอดเป็นมรดกได้ ( หากรัฐละเมิดสิทธินี้ก็เท่ากับ โจรกรรม เว้นแต่  กรณีพิเศษ  เช่น  เจ้าของที่ดินละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น หรือเบียดเบียนชาวบ้านส่วนรวม  ซึ่งทฤษฎีของ John Lock เป็นพื้นฐานในการรับรอง ความเป็นเจ้าของที่ดินของประชากรพลเมืองทุกคนในสังคมสมัยใหม่   
ซึ่งสอดคล้องกับ ทฤษฎีแห่งความมั่งคั่ง   (Wealth)  ของ ริคาร์โด นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ  ซึ่งมีแนวคิดบนพื้นฐานมนุษยนิยม  ถือว่ามนุษย์เป็นศูนย์กลาง ความมั่งคั่งเกิดจากที่ดิน  เพราะผู้คนเกือบทั้งหมดอยู่ในภาคการผลิตจากที่ดิน    โดยมีปัจจัยที่ก่อให้เกิดการผลิตได้แก่ ที่ดิน  แรงงาน  ทุน  ผู้ประกอบการ  และภูมิปัญญา   
ต่อมาได้มีแนวคิดปัจเจกชนนิยมและสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 1 8 -19  ทำให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเป็นสิทธิตามธรรมชาติอย่างหนึ่ง   ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเพราะกฎหมายให้อำนาจ 
และในศตวรรษที่ 20 ได้เกิดแนวคิดเกี่ยวกับการแทรกแซงของรัฐในการถือของที่ดิน  ตามแนวความคิดของ  Leon  Duguit  นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศส  ซึ่งปฏิเสธกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินว่าเป็นสิทธิตามธรรมชาติ   แต่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะต้องมีอยู่เพราะหน้าที่ตามสังคม ( Social  Function) กล่าวคือ  เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะใช้สอยเพื่อประโยชน์ของตนเองเท่านั้นหาได้ไม่  แต่ต้องปฏิบัติตามภาระที่มีอยู่ในสังคมด้วย  หากไม่มีการใช้ประโยชน์และเพื่อประโยชน์สาธารณะแล้ว  รัฐก็อาจแทรกแซงได้  
ซึ่งจากแนวคิดนี้ทำให้มีการแก้ไขกฎหมายแพ่งเยอรมันในเรื่อง สิทธิของผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เป็นสิทธิที่ถูกจำกัดได้   โดยหลักกฎหมายไทยได้บัญญัติให้สอดคล้องกับหลักการนี้ว่าด้วยทรัพย์ตาม ปพพ. มาตรา 13335  1336
                                สำหรับประเทศไทยมีประวัติเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์  กล่าวคือ   ในสมัยสุโขทัย  ราษฎรมีสิทธิเต็มที่ในทรัพย์สินของตนระหว่างราษฎรด้วยกันเอง    แต่จะใช้ยันกับพระเจ้าแผ่นดินไม่ได้   ส่วนในสมัยอยุธยา พระเจ้าแผ่นดินเป็นสมมติเทพ ที่ดินทั้งหมดเป็นของพระเจ้าแผ่นดิน และในสมัยรัตนโกสินทร์มีลักษณะเช่นเดียวกัน  จนมาถึงสมัยปัจจุบันได้ประกาศใช้ประมวลกฎหมายที่ดินเมื่อ พ.ศ. 2497  ที่ดินที่ประชาชนครอบครองอยู่ก่อนแล้วและได้ทำประโยชน์ เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบและออกหนังสือรับการทำประโยชน์ว่าทำไปแล้วเสร็จมากน้อยเท่าใด แล้วจึงออกโฉนดให้เป็นกรรมสิทธิ์
                แนวคิดทฤษฎีมาตรการสากลของกรรมสิทธิ์
                เชื่อว่าสิทธิในทรัพย์สินเป็นสิทธิโดยธรรมชาติ  กล่าวคือ เราไปจับปลามาได้  เราก็คิดว่าเรามีสิทธิที่จะกิน  หมายความว่าเป็นธรรมชาติของมนุษย์
                นอกจากนี้ยังมี ปฏิญญาแห่งสิทธิมนุษยชน   ในมาตรา 2 รองรับว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเป็นสิทธิของมนุษย์  และมาตรา 17 รองรับว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเป็นสิทธ์อันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งจะละเมิดมิได้  การละเมิดกรรมสิทธิ์จะกระทำมิได้  เว้นแต่  เพื่อประโยชน์แห่งสาธารณะ ตามที่กำหนดในกฎหมายและได้ชดใช้ค่าทำขวัญตามสมควรเสียก่อนแล้ว
         หลักเกณฑ์ที่สำคัญของกรรมสิทธิ์
                1. สิทธิเด็ดขาด ( Absolute  Right)  เป็นสิทธิที่กฎหมายให้อำนาจแก่เจ้าของสิทธิที่เกี่ยวข้องกับบุคคล ทรัพย์ หรือ สิทธิ  โดยกีดกันมิให้บุคคลภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้อง ( เป็นสิทธิที่ใช้ยันบุคคลทุกคนในโลก)   ทุกคนมีหน้าที่ต้องเคารพสิทธิเด็ดขาดนี้  กล่าวคือ เป็นทรัพยสิทธิ์  อันเป็นสิทธิเหนือทรัพย์  ซึ่งเกิดโดยผลของกฎหมายเท่านั้น
                2. อำนาจหวงกัน  ( Exclusive 
                 - เป็นการกระทำป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย 
                - กระทำตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย
                -เป็นการกระทำเพื่อบำบัดป้องปัดภยันตรายซึ่งมีมาเป็นสาธารณะประโยชน์โดยฉุกเฉิน
                - เพื่อปัดป้องภยันตราย ( Bileteral  Free  Area)
                - เพื่อป้องกันสิทธิของตน หรือของบุคคลภายนอกจากภยันตรายอันมีมาโดยเหตุ
                ฉุกเฉินเพราะตัวทรัพย์นั้นเองเป็นเหตุ
                -ผู้ครองอสังหาริมทรัพย์ชอบที่จะจับสัตย์ของผู้อื่นที่เข้ามาทำความเสียหายในที่ของตน
3. ลักษณะถาวร ( Perpetual) กรรมสิทธิ์ต่างจากทรัพยสิทธิอย่างอื่นทั้งหลายที่มีลักษณะถาวร   ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้สิ้นสุดไปโดยการเวลาโดยเจ้าของมิได้ใช้   ส่วนทรัพย์สินที่จำกัดตัดทอนกรรมสิทธิ์นั้นได้ก่อให้เกิดโดยกำหนดเวลาไว้  อย่างมากจะมีอยู่ได้เพียง  30 ปี หรือมิฉะนั้นก็อยู่ได้เพียงชั่วชีวิตของผู้ทรงสิทธินั้นเท่านั้น  เช่นสิทธิอาศัย  สิทธิเหนือพื้นดิน  สิทธิเก็บกิน    
                ส่วนประเทศไทย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550  มาตรา 41 รับรองว่า สิทธิบุคคลในทรัพย์สินย่อมได้รับความคุ้มครอ  ขอบเขตแห่งสิทธิและจำกัดสิทธิเช่นว่านี้ย่อมเป็นไปตามกฎหมายบัญญัติ และการสืบมรดกย่อมได้รับความคุ้มครอง สิทธิของบุคคลในการสืบมรดกย่อมเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ  และมาตรา 42 รับรองว่า  การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะกิจการของรัฐเพื่อการอันเป็นสาธารณูปโภค การอันจำเป็นในการป้องกันประเทศ การได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ การผังเมือง การส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การพัฒนาการเกษตรหรือการอุตสาหกรรม การปฏิรูปที่ดิน การอนุรักษ์โบราณสถานและแหล่งทางประวัติศาสตร์ หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น และต้องชดใช้ค่าทดแทนที่เป็นธรรมภายในเวลาอันควรแก่เจ้าของตลอดจนผู้ทรงสิทธิบรรดาที่ได้รับความเสียหายจากการเวนคืนนั้น ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ

                เจ้าของกรรมสิทธิ์มีสิทธิอย่างบ้างนั้น  ตามหลักกฎหมายแพ่งมาตรา 1336  ซึ่งได้วางหลักสอดคล้องกับหลักสากล ให้เจ้าของกรรมสิทธิ์มีสิทธิใช้สอย  สิทธิจำหน่าย สิทธิได้ซึ่งดอกผล สิทธิติดตามเอาคืน  สิทธิที่จะขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้ามาเกี่ยวข้อง  
                และตามมาตรา 1335 หลักแดนกรรมสิทธิ์  โดยให้แดนกรรมสิทธิ์ที่ดินกินทั้งเหนือพื้นดินและใต้พื้นดิน  กล่าวคือให้เจ้าของกรรมสิทิ์มีสิทธิเต็มที่ในอาณาบริเวณที่ดินของตนเหนือที่ดินขึ้นไปหรือใต้พื้นดินลงมา  เว้นแต่จะถูกจำกัดโดยกฎหมาย     ซึ่ง  เจ้าของกรรมสิทธิ์อาจถูกจำกัดสิทธิ  ซึ่งมีอยู่ 2  ทาง  กล่าวคือ 
โดยนิติกรรม  คือการทำสัญญาตามหลักความศักดิ์สิทธิแห่งการแสดงเจตนา  และหลักเสรีภาพในการทำสัญญา    และอีกทางหนึ่งคือ  โดยผลของกฎหมาย ซึ่งมีจุดมึ่งหมายเพื่อประโยชน์สาธารณะ ( Public   Interest)  เช่น การเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างถนนซึ่งบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 42  การใช้สอยถูกจำกัดโดยการจำนำ การได้ดอกผลถูกจำกัดสิทธิโยสินสมรส     และโดยอายุความ กรณีเป็นหลักยกเว้นหลักถาวรของผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์  เช่น การแย่งการครอบครองปรปักษ์               


                                                                                                                               


 ปล. เป็นแค่แนวทางในการสอบครับ    เนื่องจากมีเวลาจำกัดในการจัดทำ    



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

มุมสำหรับเพื่อน ๆ แสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยน เติมเต็ม ติชม และแซว