บทความใน Blog นี้ เป็นบทความที่รวบรวมมาจากสาขาวิทยบริการต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง จาก Website ต่าง ๆ และจัดทำขึ้นเอง เพื่อสะดวกในการศึกษาค้นคว้า(ต้องขออภัยที่ไม่ได้ขออนุญาตผู้เป็นเจ้าของข้อมูล ในการเผยแพร่อย่างเป็นทางการ) คำบรรยายของอาจารย์ทุกท่านอาจจะมีข้อหรือคำผิดพลาด อันเนื่องมาจากการพิมพ์และการตีความของผู้พิมพ์และผู้เรียบเรียงได้ ขอให้ผู้ศึกษาโปรดใช้วิจารณญาณ ขอขอบพระคุณเจ้าของผลงานทุกท่าน พร้อมอาจารย์ทุกท่านที่ได้มอบความรู้และคุณธรรมให้แก่ลูกศิษย์ด้วยความเมตตา

27 พฤษภาคม 2554

นิติกรรมลอย

นิติกรรมลอย

นิติกรรมลอย เป็นหลักกฎหมายของประเทศเยอรมัน ใช้กับสัญญาที่โอนกรรมสิทธิ์ในสังหาริมทรัพย์ (ซื้อ ขาย ให้ แลกเปลี่ยน)  
-          ประเทศอังกฤษ            กรรมสิทธิ์โอนโดยการแสดงเจตนา เช่น มาตรา 458(ปพพ.) 
-          ประเทศเยอรมัน          กรรมสิทธิ์โอนโดยการส่งมอบ
ตามกฎหมายไทย อังกฤษ กรรมสิทธิ์โอนในขณะทำสัญญา  ฉะนั้นกรรมสิทธิ์โอนโดยการแสดงเจตนา เช่น ตกลงซื้อขายรถยนต์ ตกลงราคาวันจันทร์ส่งมอบ  ถามว่าผู้ขายจะขายรถคันดังกล่าวกับบุคคลอื่นได้หรือไม่
                # ตามกฎหมายไทย อังกฤษ กรรมสิทธิ์ในสังหาริมทรัพย์ได้โอนไปยังผู้ซื้อแล้วในขณะเมื่อทำสัญญาซื้อขายกัน  ผู้ขายมีเพียงสิทธิครอบครองเท่านั้น  ตามหลักว่ากรรมสิทธิ์โอนโดยการแสดงเจตนาถูกต้องตรงกัน
                # ตามกฎหมายเยอรมัน สามารถขายได้ เพราะกรรมสิทธิ์ยังไม่โอน ซึ่งกรรมสิทธิ์ในสังหาริมทรัพย์ย่อมโอน เมื่อส่งมอบทรัพย์แล้ว (เพราะเยอรมันถือว่าเป็นนิติกรรมทางหนี้ด้วย คือคำเสนอและคำสนองถูกต้องตรงกัน คือนอกจากต้องมีเจตนาตรงกันแล้ว ต้องมีการส่งมอบทรัพย์ดังกล่าวด้วยจึงจะถือว่า ผู้รับได้กรรมสิทธิ์ไปจริง)
                ***หากนิติกรรมตกเป็นโมฆะ ไม่มีนิติกรรมทางหนี้ คือไม่มีมูลหนี้ แต่มีการส่งมอบทรัพย์กันจริงการเรียกทรัพย์คืน ต้องเรียกคืนตามกฎหมายฐานลาภมิควรได้***
                เช่น เด็กชาย ก ขายโทรศัพท์ให้ ข หลังจากนั้นส่งมอบโทรศัพท์ให้ ข

ตามกฎหมายไทย
ตามกฎหมายเยอรมัน
ผู้เยาว์ทำนิติกรรมผลเป็นโมฆียะ ---บอกล้าง---โมฆะ---กลับคืนสู่ฐานะเดิม---ฟ้องเรียกคืนอ้างสิทธิตาม ม.1336 เพราะถือว่ากรรมสิทธิ์ยังไม่โอนไป เนื่องจากสัญญาโมฆียะถูกบอกล้างทำให้นิติกรรมสัญญาเสียเปล่า กรรมสิทธิ์ยังอยู่ที่ผู้ขาย การฟ้องอ้างกรรมสิทธิ์ต่างกับเยอรมัน ฟ้องอ้างฐานมิควรได้
นิติกรรมทีตกเป็นโมฆะ ไม่กระทบกระเทือนถึงการส่งมอบกรรมสิทธิ์  การเรียกคืน ต้องอ้างเหตุว่าผู้ซื้อรับทรัพย์ไปโดยปราศจากมูลหนี้ เป็นลาภมิควรได้




ตามกฎหมายไทย แต่ถ้าได้โอนทรัพย์สินให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้ว เจ้าของทรัพย์เรียกทรัพย์คืนได้
เว้นแต่    เข้าหลักเกณฑ์ตาม ม.1329 ม.1332 ===> มาจากกฎหมายเยอรมัน
1.       ได้ทรัพย์สินมาโดยสุจริต และ
2.       มีค่าตอบแทน และ
3.       ได้มาก่อนถูกบอกล้าง
ตามกฎหมายเยอมัน เมื่อมีการโอนทรัพย์สินไปยังบุคคลภายนอก กรรมสิทธิ์ย่อมโอนไปด้วยการส่งมอบทรัพย์เพราะขณะส่งมอบ ผุ้ส่งมอบมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น ผู้รับโอนย่อมได้กรรมสิทธิ์ เนื่องจากนิติกรรมทางทรัพย์ และนิติกรรมทางหนี้ มีความสมบูรณ์แล้ว ถือว่าผู้รับโอนมีสิทธิ์ดีกว่าผู้โอน
***เป็นบทสรุปในเรื่องนิติกรรมลอย  ของ หนูแดง***
ละเมิด กับ ความผิดอาญา
นิติกรรม (ม.149)
-          ชอบด้วยกฎหมาย
-          ด้วยใจสมัคร
-          มุ่งโดยตรงผูกนิติสัมพันธ์ เพื่อก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ
 นิติเหตุ (ไม่มีกฎหมายให้ความหมาย) ได้แก่
-          ละเมิด
-          จัดการงานนอกสั่ง                              อยู่ในบรรพ 2 ของ ปพพ.ว่าด้วย หนี้
-          ลาภมิควรได้

นิติกรรม และ นิติเหตุ --- ต่างเป็นบ่อเกิดแห่งหนี้

                ละเมิด (ม.420)
·       กระทำโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่อ
·       ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย
·       ให้เขาเสียหาย (ชีวิต/ร่างกาย/อนามัย ฯลฯ)
การจัดการงานนอกสั่ง (ม.395)
·       เข้าจัดกิจการแทนผู้อื่น
·       โดยเขามิได้ว่าขานวานใช้ หรือ โดยมิได้มีสิทธิที่จะทำงานนั้นแทน
·       ต้องจัดการงานไปในทางที่จะสมประโยชน์ของตัวการ + ตามความประสงค์อันแท้จริงของตัวการ
ลาภมิควรได้ (ม.406)
·       ได้ทรัพย์มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้
นิติเหตุ  :  อาจเป็นการกระทำโดยชอบหรือมิชอบด้วยกฎหมายก็ได้
                    นิติเหตุไม่ได้มีความสมัครใจ แต่เมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว มีหนี้(เป็นเรื่องที่เกิดโดยไม่สมัครใจผูกนิติสัมพันธ์ แต่เมื่อเกิดแล้วหนี้ตามมา)

หนี้ คือ อะไร
                หนี้  =  บุคคลสิทธิ  =  สิทธิเรียกร้อง  (มีความหมายเหมือนกัน)
ตย.  หนี้เงิน -----> ชำระเงิน
       ถ้าเป็นหนี้ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง       ===นายจ้างมีหน้าที่จ่ายค่าจ้าง
                                                                                ===ลูกจ้างมีหน้าที่ทำงาน
                ถ้านายจ้างไม่จ่ายค่าจ้าง ลูกหนี้มีสิทธิฟ้องให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง หนี้ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเกิดมาจากสัญญา

หนี้ ตัวบทกฎหมายเราแปลเป็นภาษาอังกฤษก่อน โดยใช้คำว่า Obligation / obiligate (v) ผูกมัด/ผูกพัน === การผูกมัดนั้นมาจากการแสดงเจตนา ===การชำระหนี้อาจเป็นการกระทำ, งดเว้นกระทำก็ได้
บุคคลสิทธิ (Personal Right) สิทธิที่คนหนึ่งมีเหนืออีกคนหนึ่ง
   ตย. เราจ้างนักร้องมาร้องเพลง เขาตกลงแล้ว เราสามารถเรียกให้เขามาชำระหนี้ได้ ถ้าไม่มาเราฟ้องเรียกให้เขาชดใช้ได้ --> ที่มาของหนี้มาจากการตกลงกัน
   ตย. เขาขับรถมาชนเรา ไม่ได้มีการตกลงกัน แต่ที่ไปอยู่ในบรรพ 2 เพราะละเมิดก็เป็นบ่อเกิดแห่งหนี้ แม้จะไม่ได้ตกลงกัน แต่เมื่อละเมิดเกิดขึ้นแล้วก็ต้องผูกพัน
สิทธิเรียกร้อง ใช้สิทธิเรียกร้องโดยวิธีทางศาล ก่อนจะฟ้องกันได้ก็ต้องมีหนี้มีความผูกพันกันมาก่อนจึงจะฟ้องได้
ทางตำรามองว่า 3 คำนี้มีความหมายเหมือนกัน คือเหตุที่จะฟ้องกันได้
                ***นิติเหตุที่มีการนำคดีขึ้นสู่ศาลมากที่สุด คือ ละเมิด***
ที่มาของเรื่องละเมิด
สมัยฮัมมูราบี ---ประมวลกฎหมายฮัมมูราบียังไม่มีเรื่องละเมิด  ละเมิดเกิดภายหลัง ละเมิดเป็นการใช้สิทธิในทางแพ่ง
-          คดีแพ่ง บุคคลที่ถูกกระทบคือเอกชน เวลาเรียกค่าสินไหมทดแทนเอกชนได้ประโยชน์
-          คดีอาญา รัฐเป็ฯผู้ควบคุมความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง
   ตย. เราถูกด่า      1. เราสามารถแจ้งความได้ เพราะรํบต้องการรักษาความสงบไม่อยากให้คนด่ากัน
2. ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเป็นการส่วนตัวได้
                ฉะนั้น การกระทำความผิดอย่างเดียวอาจดำเนินการได้ทั้ง 2 อย่าง คือ ให้รัฐจัดการ และฟ้องด้วยตัวเองในกรณีที่กฎหมายรับรองสิทธิได้
*ละเมิด กับ ความผิดอาญา*
                กฎหมายเดิมไม่ได้แยกออกจากัน เป็นเรื่องที่เอกชนเรียกร้องเอง รัฐไม่ได้เข้ามา  ต่อมาแยกเป็น
อาญา” = รัฐเป็นผู้ลงโทษผุ้ทำผิดในสังคม
ละเมิด” = ผู้เสียหายเรียกจากผู้ก่อเหตุละเมิดเป็นการส่วนตัว
   ตย. หัวหน้าครอบครัวถูกรถชน แม้ผู้กระทำจะถูกลงโทษทางอาญา แต่คนในครอบครัวยังไม่ได้รับการเยี่ยวยา  กฎหมายละเมิดถูกสร้างขึ้นมาเพื่อชดใช้เยียวยาผู้ได้รับความเสียหาย
วัตถุประสงค์
1.       อาญา  =  รัฐเป็นผู้กำหนดว่าการกระทำใดที่กระทำมิได้ หากฝ่าฝืนถูกลงโทษ
2.       ละเมิด
-          หากมีการกระทำที่ผู้กระทำไม่มีอำนาจ 
-          มีการกระทำที่ก่อความเสียหาย


ละเมิด = การล่วงสิทธิ(ไม่มีสิทธิกระทำ) หรือ ผิดหน้าที่(มีหน้าที่แต่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่/ทำไม่ถูกต้องตามหน้าที่)
การล่วงสิทธิ ต้องดูว่าเขามีสิทธิกระทำหรือไม่
                ตย. หมอดูทำนายดวงเราต่อสาธารณะชนเป็นการล่วงสิทธิความเป็นส่วนตัว
                ผิดหน้าที่
                ตย. การรักษาความปลอดภัยศูนย์การค้า ถูกฟ้องว่าละเมิด คือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ รถยนต์ของลูกค้าถูกขโมย ---ละเมิด ---ผิดหน้าที่

วิวัฒนาการของกฎหมายเรื่องละเมิด
                ทฤษฎีความรับผิดทางละเมิด Common Law  ก่อน ค.ศ.19
                แนวคิดที่ 1 เมื่อมีความเสียหายต้องมีการชดใช้เยียวยา  : ทฤษฎีรับภัย (ฝรั่งเศส)
                                แนวคิดนี้ไม่พิจารณาถึงองค์ประกอบภายในจิตใจของผู้กระทำ พิจารณาแต่ว่าเมื่อมีการกระทำขึ้น และมีผลเสียหายจะต้องมีผู้ชดใช้
                                แนวคิดที่ 1 นี้มีพื้นฐานจากหลักการคุ้มครองสิทธิของบุคคลในอันที่จะไม่ถูกทำให้เสียหายตรงกับทฤษฎีรับภัยของฝรั่งเศส
                                แต่ถ้าไม่ได้เกิดจากการกระทำของมนุษย์ Act of God หรือเหตุสุดวิสัยก็ไม่อาจเรียกร้องให้ใครรับผิดได้ ตัวอย่างเช่น กระเบื้องหลังคาแตกเพราะลูกเห็บตก
                                หากเกิดจากการกระทำของบุคคล เช่น เอาหินไปปาหลังคา ถูกหลังคาแตกแล้วตกไปโดนหัวคนที่นอนอยู่แตกด้วย ---รับผิด 2 ต่อ
                แนวคิดที่ 2 มาจากกฎหมายพระ Fault Liability : ทฤษฎีความผิด
-          มีพื้นฐานจากหลักคุ้มครองเสรีภาพของผู้กระทำ
-       ความเสียหายต้องเกิดจากการกระทำที่จงใจ หรือขาดความระมัดระวังเท่านั้น  แนวคิดนี้พิจารณาองค์ประกอบภายในจิตใจของผู้กระทำด้วย  แนวคิดเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล  ฉะนั้นโจทก์ต้องพิสูจน์ระหว่างการกระทำและผู้กระทำ
-          ปลาย ค.ศ.19 ชัดเจนมากขึ้นว่าต้องมีความผิดจึงจะรับผิด
-          ปัจจุบันเกิดทฤษฎีความรับผิดเด็ดขาด (Strict Liability)
                กิจการที่สันนิษฐานว่าต้องรับผิดอย่างเด็ดขาด เช่น ความเสียหายที่เกิดจากยานพาหนะ เครื่องจักรกล การบินพาณิชย์ การบริโภคผลิตภัณฑ์ การทดแทนความเสียหายในการทำงาน
                ทฤษฎีความรับผิดในทางละเมิดมี 2 ทฤษฎี
-          ทฤษฎีความรับผิด (ม.420)
-          ทฤษฎีความรับผิดเด็ดขาด (ม.437)
---> ทฤษฎีความรับผิดตามกฎหมายไทยนั้นมีรากฐานบน ทฤษฎีความผิด (Fault Liability)
---> ทฤษฎีรับภัย  ไม่มีอิทธิพลโดยตรงต่อกฎหมายไทย
---> ทฤษฎีความรับผิดเด็ดขาด มีปรากฏอยู่ในหลายมาตรา
ตย. จะแกล้เพื่อนให้ตกใจ แต่เพื่อนช็อค พอแม่เพื่อนรู้ก็ช็อคไปอีกคน
ทฤษฎีรับภัย ---> รับผิดหมด
แต่ทฤษฎีที่ 2 ต้องดูเจตนาของผู้กระทำด้วย แนวคิดที่ 2 จึงเกิดขึ้นมาเพื่อเยียวยา

ปพพ. ใช้คำว่า จงใจ
ปอ.    ใช้คำว่า เจตนา

Fault ---> เจตนา

แต่ถ้าเป็นเครื่องจักร พิสูจน์กระบวนการผิดที่ทำได้ยาก ---> Strict Liability
Fault คือการกระทำอันมิชอบ
-       การกระทำอันมิชอบในทางสังคม หรือศีลธรรม (moral fault) ไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายรองรับว่าเป็นความผิด แต่ไปก้าวล่วงสิทธิของคนอื่น
-          การอันมิชอบในเชิงกฎหมาย (legal fault)

การกระทำที่เป็นละเมิดไม่จำเป็นต้องเป็นการกระทำที่กฎหมายรองรับว่าเป็นความผิดแล้ว  แต่บางครั้งก็อาจเกิดควบคู่ไปกับการผิดกฎหมาย
                moral fault  :  เป็นองค์ประกอบที่แฝงอยู่ในละเมิดโดยจงใจและประมาท
                legal fault  :  เป็นองค์ประกอบของละเมิดที่ต้องรับผิดโดยปราศจากเงื่อนไข
ม.420

การกระทำ
<จงใจ/ประมาทเลินเล่อ>

ล่วงสิทธิผู้อื่น


ความเสียหาย


ค่าสินไหมทดแทน
Compensation

                                การชดเชยให้(ผู้เสียหาย/ผู้รับผลร้าย) ---> กลับสู่ฐานะเดิม
                                               
                                                ความเสียหายจริง
                ค่าเสียหาย 
                                                เชิงลงโทษ  ---> เป็นเรื่องใหม่ปรากฏในกฎหมายไทยแล้ว
ตัวอย่าง ฎีกาที่ 64/2501  (หน้า 74)
                จากฎีกาถ้าเอามาปรับกับองค์ประกอบของการกระทำเพื่อเรียกค่าสินไหมทดแทน หรือไม่ คดีนี้ศาลให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 50,000 บาท จากที่โจทก์เรียก 100,000 บาท คดีนี้โจทก็ไม่ได้พิสูจน์ได้ถึงความเสียหาย
                จากข้อเท็จจริงของฎีกา
                - มีการกระทำ       --->  ใช้ชื่อร้านของโจทก์
                - ล่วงสิทธิโจทก์  --->  ไม่มีสิทธิใช้ชื่อร้านของโจทก์
                - ควมเสียหาย       --->  โจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าตนเสียหาย 100,000 บาท
                ศาลคิดว่าการกระทำแบบนี้ไม่น่าทำ แม้ความเสียหายพิสูจน์ไม่ได้ ฎีกานี้จึงตัดสินลงโทษ นักวิชาการจึงวิจารณ์ว่า ฎีกานี้เป็นการกำหนดค่าเสียหายเชิงลงโทษ (ขณะนั้นยังไม่มีกฎหมายเรื่องค่าเสียหายที่เป็นการลงโทษ)
ตัวอย่าง ฎีกาที่ 3480/2542  (หน้า 74)
                จำเลยเป็นสรรพสามิตจังหวัด โจทก์คือกรมสรรพสามิต 
ในฎีกานี้เท่ากับว่าพิสูจน์มาครบ คือมีการกระทำที่เป็นการละเมิด แต่ค่าเสียหายพิสูจน์มาไม่ได้ เพราะแม้ไปยื่นคำขอรับชำระหนี้ก็ไปเรียกอะไรไม่ได้อยู่แล้ว  ศาลจึงยกฟ้อง  คดีนี้ฟ้งอตอนสรรพสามิตจังหวัดตายแล้วไปฟ้องกับทายาท        --->  ยกฟ้องเป็นธรรมแล้ว
เปรียบเทียบ 2 ฎีกา
                ไม่ได้บอกว่า 2 คดีศาลตัดสินขัดกัน เพราะแต่ละคดีก็มีเหตุผลแห่งความยุติธรรมรองรับอยู่แล้ว  แต่ถ้าเป็นของต่างประเทศเพียงมีการกระทำที่เป็นการล่วงสิทธิก็ต้องจ่ายแล้ว

ค่าเสียหายในคดีละเมิด (ภาคผนวก 3 หน้า 132)
ค่าเสียหายตามความมุ่งหมายของเรื่องละเมิด
1.     ค่าเสียหายแบบค่าสินไหมทดแทน (Compensatory Damages) เพื่อชดเชยให้กลับคืนสู่ฐานะเดิม หรือใกล้เคียงที่สุด เช่น ค่าใช้จ่ายที่เสียไป, รายได้ที่ขาดไป, ค่ารักษาพยาบาล
โดยผู้เสียหายสามารถฟ้องคดีได้เลย เมื่อละเมิดเป็นบ่อเกิดแห่งหนี้อย่างหนึ่งกฎหมายจึงบัญญัติรองรับไว้
บางครั่งความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่อาจทำให้กลับคืนดังเดิมได้ เช่น แขนขาด เมื่อแขนขาดทำงานไม่ได้ จึงนำเงินเข้ามาชดเชยรายได้ส่วนที่เสียไป
ค่าเสียหายแบบค่าสินไหมทดแทนเรียกได้ทั้ง 2 ระบบ ไม่ว่า Common Law หรือ Civil Law (ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจริง)
การกำหนดแบบนี้เป็นหลักของ Civil Law มีลักษณะ 3 ประการ
(1)    ทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง
(2)    ปกติผู้เสียหายต้องพิสูจน์ให้ปรากฏต่อศาล
(3)   ผ่อนชำระเป็นงวด ๆ ได้ (เหมือนเป็นหนี้)  แต่ถ้าเป็น Common Law เช่น อังกฤษ หรือ อเมริกา จะให้จ่ายคราวเดียว
2.     ค่าเสียหายแบบเป็นการลงโทษ (Punitive Damages) หน้า 136-137 ไม่มีใน ปพพ. แต่มีในกฎหมายอื่น ๆ หลายฉบับ ค่าเสียหายเชิงลงโทษปัจจุบันพบใน
(1)    พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2515 ม.13
(2)    พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค ม.40
(3)    พ.ร.บ.ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551 ม.11
ค่าเสียหายแบบเป็นโทษเป็นหลักการของ Common Law
กฎหมายเรื่องละเมิดเรานำมาจากเยอรมันและฝรั่งเศส ซึ่งเป็นระบบกฎหมายแบบประมวลกฎหมายที่ดีที่สุด เวลาเปรียบเทียบจึงดูจากฎหมายไทยได้เลย  มีลักษณะ 4 ประการ
(1)    เพื่อปรามมิให้ทำเช่นนั้นอีก, ไม่ให้เอาเป็นเยี่ยงอย่าง
(2)    ฝ่ายโจทก์ไม่ต้องพิสูจน์ถึงค่าเสียหาย  ศาลจะเป็นผู้กำหนดให้เอง
(3)    อาจเป็นส่วนที่ได้เพิ่มเติมจากค่าเสียหายที่แท้จริง
(4)    ศาลให้เฉพาะกรณีละเมิด ที่มีพฤติการณ์รุนแรง
ตัวอย่างคดี           - Huckle V. Money, 1763 (หน้า 137)
                                - William V. Settle, 1960
ต้องจำคดีตัวอย่างเหล่านี้ด้วย เพราะอาจารย์อาจถามว่าให้ยกตัวอย่างคดีที่ศาลอังกฤษตัดสินให้ใช้ค่าเสียหายแบบเป็นโทษ ต้องตอบคดีเหล่านี้
-       Liberty National Life Insurance Company V. Heldon, 1958 (หน้า 138) คดีที่ศาลวางหลักเกณฑ์ที่จะจ่ายค่าเสียหายแบบเป็นโทษ คือในคดี Rocks V. Barnard คือ
ก.       คดีที่เจ้าพนักงานของรัฐจงใจทำละเมินฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ หรือ
ข.     จำเลยจงใจหวังผลกำไรเป็นจำนวนสูงกว่าความเสียหายที่โจทก์ได้รับจากการกระทำละเมิดของจำเลย เช่น คดี Cassell Co.,Ltd. V. Broome
ค.       คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้จ่ายค่าเสียหายแบบเป็นโทษแก่ผู้เสียหาย
แนวปฏิบัติในการกำหนดค่าเสียหาย (หน้า 139)
1. ค่าเสียหายตามความเสียหาย (Substantial Damages) ตามความเสียหายที่แท้จริงคล้ายค่าเสียหายแบบค่าสินไหมทดแทน แต่มีวิธีคิดต่างกัน
เช่น ประมาททำให้เพลิงไหม้
-          ถ้าเป็นของไทยเสียหายครึ่งหลัง จ่ายค่าซ่อมให้ซ่อมได้เต็มหลัง
-       แต่ของ Common Law เอาราคาบ้านทั้งหลังหักด้วยราคาบ้านครึ่งหลังที่เหลือ เขมีแนวคิดว่าค่าซ่อมไม่แน่นอนเสียหายที่เกิดขึ้นจริง
2. ค่าเสียหายแบบพิธี (มีแต่ใน Common Law)
     2.1 ค่าเสียหายแบบปลอบขวัญ (Nominal Damages)  ตัวอย่างอยู่ในหน้า 141 เราพบว่าค่าเสียหายแบบนี้จะไม่มากมาย ศาลให้พอเป็นพิธี เช่น
           - คดี Ashb V. White, 1703 ค่าเสียหาย 5 ปอนด์
           - คดี Constanting V. Impexial Hotel Ltd, 1944
     2.2 ค่าเสียหายแบบสมน้ำหน้าโจทก์ (Contemptuous Damages)  ศาลสั่งให้จ่ายเพื่อประชดโจทก์ แต่โจทก์ได้กระทำการโต้ตอบจำเลยไปแล้ว เช่น คดี Kelly V. Sherlock ดูเพิ่มเติมในหน้า 142


ค่าเสียหายตามลักษณะความเสียหาย (หน้า 143-144)
1.       ความเสียหายเชิงวัตถุ (Mential Damage) บางครั้งเรียกว่า ค่าเสียหายแท้จริง
2.       ความเสียหายทางศีลธรรม (Moral Damage) บางครั้งเรียกว่า ค่าเสียหายตามทางสันนิษฐานทั่วไป










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

มุมสำหรับเพื่อน ๆ แสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยน เติมเต็ม ติชม และแซว