บทความใน Blog นี้ เป็นบทความที่รวบรวมมาจากสาขาวิทยบริการต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง จาก Website ต่าง ๆ และจัดทำขึ้นเอง เพื่อสะดวกในการศึกษาค้นคว้า(ต้องขออภัยที่ไม่ได้ขออนุญาตผู้เป็นเจ้าของข้อมูล ในการเผยแพร่อย่างเป็นทางการ) คำบรรยายของอาจารย์ทุกท่านอาจจะมีข้อหรือคำผิดพลาด อันเนื่องมาจากการพิมพ์และการตีความของผู้พิมพ์และผู้เรียบเรียงได้ ขอให้ผู้ศึกษาโปรดใช้วิจารณญาณ ขอขอบพระคุณเจ้าของผลงานทุกท่าน พร้อมอาจารย์ทุกท่านที่ได้มอบความรู้และคุณธรรมให้แก่ลูกศิษย์ด้วยความเมตตา

27 มิถุนายน 2554

โจทย์การบ้านวิชากฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา (สิทธิบัตร)

Take  Home

ให้อธิบายหลักของ CL ( Compulsory  License) 
   -ให้พิจารณาโดยสรุปว่ามีบทบัญญัติในมาตราใดของกฎหมายสิทธิบัตรไทยที่เป็น CL
   - เป็น CL ในกรณีใดบ้าง
  - บทบัญญัติดังกล่าวมีความสอดคล้องกับข้อกำหนด TRIPs อย่างไร
  - ประเทศไทยได้ประโยชน์จากข้อกำหนดในกฎหมายสิทธิบัตรดังกล่าวหรือไม่ จงวิเคราะห์


ข้อมูลที่ใช้ในการตอบคำถามเรียงประเด็น

    1. หลักของ CL  คลิกเลย
     
    2. กฎหมายของไทยที่เป็น CL คลิกเลย

    3. เป็น CL กรณีใดบ้าง (อยู่ในไฟล์อื่นๆครับ)

    4. สอดคล้องข้อกำหนด TRIPs  อย่างไร คลิกเลย

    5.ไทยได้ประโยชน์หรือไม่ คลิกๆๆ



                                  ขอขอบคุณ...น้องป๋อมแป๋ม / น้องไก่ / น้องอุ๊ และ พี่อ๋อย ที่ช่วยสืบค้นข้อมูล

                                                                                           ....ฝ่ายวิชาการ.....

24 มิถุนายน 2554

การบ้านวิชากกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ที่มาข้อมูล

ชื่อวิทยานิพนธ์
         1. ปัญหาการบังคับใช้สิทธิตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และเครื่องหมายการค้า/สุนทร ล้อศิริรัตนกุล / มหาวิทยาลัยรามคำแหง. บัณฑิตวิทยาลัย  




                         การบ้านวิชากฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา 
                                                           คลิกเลยครับบบบบ

21 มิถุนายน 2554

ผลสอบภาษาอังกฤษ




ผลสอบภาษาอังกฤษ  ออกแล้วนะครับ
 ตรวจสอบด่วน!!! 
ได้ที่ลิ้งค์ด้านล่างครับ

ตรวจผลสอบด่วนนนน คลิกๆๆๆๆเลย

ผลเป็นประการใด...กริ้งกร้างบอกกันนะครับ

....ดีใจด้วยกับทุกคนนะครับ   ที่สอบผ่าน
หากสอบไม่ผ่าน  อย่าเสียใจครับ  ซ่อมได้ๆๆๆๆ
            
       """"ดีใจกะเพื่อนทุกคนครับ""""

3 มิถุนายน 2554

สรุปแนวข้อสอบหลักกรรมสิทธิ์ในที่ดิน

เอกสารเตรียมสอบหลักกรรมสิทธิ์ที่ดิน
จ.อ.นิคม  เภาพาน
หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต
                                     
                                         สรุปหลักกรรมสิทธิ์ในที่ดิน 


กรรมสิทธิ์ในที่ดินมีวิวัฒนาการมาจาก  ทฤษฎี สามัญชนทุกคนควรมีสิทธิเป็นเจ้าของที่ดิน   ของ John Lock นักปราชญ์ชาวอังกฤษ  เชื่อว่า สิทธิความเป็นเจ้าของที่ดินเกิดจากแรงงานที่ผู้ใดใช้ในการทำที่ว่างเปล่าให้เป็นไร่  นา  สวน   ผู้ใดใช้แรงงานของตนทำไร่  นา สวน ย่อมเป็นเจ้าของที่นั้นโดยสิทธิเด็ดขาด (  Absolute)   จะซื้อ  หรือ จะสืบทอดเป็นมรดกได้ ( หากรัฐละเมิดสิทธินี้ก็เท่ากับ โจรกรรม เว้นแต่  กรณีพิเศษ  เช่น  เจ้าของที่ดินละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น หรือเบียดเบียนชาวบ้านส่วนรวม  ซึ่งทฤษฎีของ John Lock เป็นพื้นฐานในการรับรอง ความเป็นเจ้าของที่ดินของประชากรพลเมืองทุกคนในสังคมสมัยใหม่   
ซึ่งสอดคล้องกับ ทฤษฎีแห่งความมั่งคั่ง   (Wealth)  ของ ริคาร์โด นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ  ซึ่งมีแนวคิดบนพื้นฐานมนุษยนิยม  ถือว่ามนุษย์เป็นศูนย์กลาง ความมั่งคั่งเกิดจากที่ดิน  เพราะผู้คนเกือบทั้งหมดอยู่ในภาคการผลิตจากที่ดิน    โดยมีปัจจัยที่ก่อให้เกิดการผลิตได้แก่ ที่ดิน  แรงงาน  ทุน  ผู้ประกอบการ  และภูมิปัญญา   
ต่อมาได้มีแนวคิดปัจเจกชนนิยมและสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 1 8 -19  ทำให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเป็นสิทธิตามธรรมชาติอย่างหนึ่ง   ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเพราะกฎหมายให้อำนาจ 
และในศตวรรษที่ 20 ได้เกิดแนวคิดเกี่ยวกับการแทรกแซงของรัฐในการถือของที่ดิน  ตามแนวความคิดของ  Leon  Duguit  นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศส  ซึ่งปฏิเสธกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินว่าเป็นสิทธิตามธรรมชาติ   แต่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะต้องมีอยู่เพราะหน้าที่ตามสังคม ( Social  Function) กล่าวคือ  เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะใช้สอยเพื่อประโยชน์ของตนเองเท่านั้นหาได้ไม่  แต่ต้องปฏิบัติตามภาระที่มีอยู่ในสังคมด้วย  หากไม่มีการใช้ประโยชน์และเพื่อประโยชน์สาธารณะแล้ว  รัฐก็อาจแทรกแซงได้  
ซึ่งจากแนวคิดนี้ทำให้มีการแก้ไขกฎหมายแพ่งเยอรมันในเรื่อง สิทธิของผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เป็นสิทธิที่ถูกจำกัดได้   โดยหลักกฎหมายไทยได้บัญญัติให้สอดคล้องกับหลักการนี้ว่าด้วยทรัพย์ตาม ปพพ. มาตรา 13335  1336
                                สำหรับประเทศไทยมีประวัติเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์  กล่าวคือ   ในสมัยสุโขทัย  ราษฎรมีสิทธิเต็มที่ในทรัพย์สินของตนระหว่างราษฎรด้วยกันเอง    แต่จะใช้ยันกับพระเจ้าแผ่นดินไม่ได้   ส่วนในสมัยอยุธยา พระเจ้าแผ่นดินเป็นสมมติเทพ ที่ดินทั้งหมดเป็นของพระเจ้าแผ่นดิน และในสมัยรัตนโกสินทร์มีลักษณะเช่นเดียวกัน  จนมาถึงสมัยปัจจุบันได้ประกาศใช้ประมวลกฎหมายที่ดินเมื่อ พ.ศ. 2497  ที่ดินที่ประชาชนครอบครองอยู่ก่อนแล้วและได้ทำประโยชน์ เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบและออกหนังสือรับการทำประโยชน์ว่าทำไปแล้วเสร็จมากน้อยเท่าใด แล้วจึงออกโฉนดให้เป็นกรรมสิทธิ์
                แนวคิดทฤษฎีมาตรการสากลของกรรมสิทธิ์
                เชื่อว่าสิทธิในทรัพย์สินเป็นสิทธิโดยธรรมชาติ  กล่าวคือ เราไปจับปลามาได้  เราก็คิดว่าเรามีสิทธิที่จะกิน  หมายความว่าเป็นธรรมชาติของมนุษย์
                นอกจากนี้ยังมี ปฏิญญาแห่งสิทธิมนุษยชน   ในมาตรา 2 รองรับว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเป็นสิทธิของมนุษย์  และมาตรา 17 รองรับว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเป็นสิทธ์อันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งจะละเมิดมิได้  การละเมิดกรรมสิทธิ์จะกระทำมิได้  เว้นแต่  เพื่อประโยชน์แห่งสาธารณะ ตามที่กำหนดในกฎหมายและได้ชดใช้ค่าทำขวัญตามสมควรเสียก่อนแล้ว
         หลักเกณฑ์ที่สำคัญของกรรมสิทธิ์
                1. สิทธิเด็ดขาด ( Absolute  Right)  เป็นสิทธิที่กฎหมายให้อำนาจแก่เจ้าของสิทธิที่เกี่ยวข้องกับบุคคล ทรัพย์ หรือ สิทธิ  โดยกีดกันมิให้บุคคลภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้อง ( เป็นสิทธิที่ใช้ยันบุคคลทุกคนในโลก)   ทุกคนมีหน้าที่ต้องเคารพสิทธิเด็ดขาดนี้  กล่าวคือ เป็นทรัพยสิทธิ์  อันเป็นสิทธิเหนือทรัพย์  ซึ่งเกิดโดยผลของกฎหมายเท่านั้น
                2. อำนาจหวงกัน  ( Exclusive 
                 - เป็นการกระทำป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย 
                - กระทำตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย
                -เป็นการกระทำเพื่อบำบัดป้องปัดภยันตรายซึ่งมีมาเป็นสาธารณะประโยชน์โดยฉุกเฉิน
                - เพื่อปัดป้องภยันตราย ( Bileteral  Free  Area)
                - เพื่อป้องกันสิทธิของตน หรือของบุคคลภายนอกจากภยันตรายอันมีมาโดยเหตุ
                ฉุกเฉินเพราะตัวทรัพย์นั้นเองเป็นเหตุ
                -ผู้ครองอสังหาริมทรัพย์ชอบที่จะจับสัตย์ของผู้อื่นที่เข้ามาทำความเสียหายในที่ของตน
3. ลักษณะถาวร ( Perpetual) กรรมสิทธิ์ต่างจากทรัพยสิทธิอย่างอื่นทั้งหลายที่มีลักษณะถาวร   ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้สิ้นสุดไปโดยการเวลาโดยเจ้าของมิได้ใช้   ส่วนทรัพย์สินที่จำกัดตัดทอนกรรมสิทธิ์นั้นได้ก่อให้เกิดโดยกำหนดเวลาไว้  อย่างมากจะมีอยู่ได้เพียง  30 ปี หรือมิฉะนั้นก็อยู่ได้เพียงชั่วชีวิตของผู้ทรงสิทธินั้นเท่านั้น  เช่นสิทธิอาศัย  สิทธิเหนือพื้นดิน  สิทธิเก็บกิน    
                ส่วนประเทศไทย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550  มาตรา 41 รับรองว่า สิทธิบุคคลในทรัพย์สินย่อมได้รับความคุ้มครอ  ขอบเขตแห่งสิทธิและจำกัดสิทธิเช่นว่านี้ย่อมเป็นไปตามกฎหมายบัญญัติ และการสืบมรดกย่อมได้รับความคุ้มครอง สิทธิของบุคคลในการสืบมรดกย่อมเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ  และมาตรา 42 รับรองว่า  การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะกิจการของรัฐเพื่อการอันเป็นสาธารณูปโภค การอันจำเป็นในการป้องกันประเทศ การได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ การผังเมือง การส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การพัฒนาการเกษตรหรือการอุตสาหกรรม การปฏิรูปที่ดิน การอนุรักษ์โบราณสถานและแหล่งทางประวัติศาสตร์ หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น และต้องชดใช้ค่าทดแทนที่เป็นธรรมภายในเวลาอันควรแก่เจ้าของตลอดจนผู้ทรงสิทธิบรรดาที่ได้รับความเสียหายจากการเวนคืนนั้น ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ

                เจ้าของกรรมสิทธิ์มีสิทธิอย่างบ้างนั้น  ตามหลักกฎหมายแพ่งมาตรา 1336  ซึ่งได้วางหลักสอดคล้องกับหลักสากล ให้เจ้าของกรรมสิทธิ์มีสิทธิใช้สอย  สิทธิจำหน่าย สิทธิได้ซึ่งดอกผล สิทธิติดตามเอาคืน  สิทธิที่จะขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้ามาเกี่ยวข้อง  
                และตามมาตรา 1335 หลักแดนกรรมสิทธิ์  โดยให้แดนกรรมสิทธิ์ที่ดินกินทั้งเหนือพื้นดินและใต้พื้นดิน  กล่าวคือให้เจ้าของกรรมสิทิ์มีสิทธิเต็มที่ในอาณาบริเวณที่ดินของตนเหนือที่ดินขึ้นไปหรือใต้พื้นดินลงมา  เว้นแต่จะถูกจำกัดโดยกฎหมาย     ซึ่ง  เจ้าของกรรมสิทธิ์อาจถูกจำกัดสิทธิ  ซึ่งมีอยู่ 2  ทาง  กล่าวคือ 
โดยนิติกรรม  คือการทำสัญญาตามหลักความศักดิ์สิทธิแห่งการแสดงเจตนา  และหลักเสรีภาพในการทำสัญญา    และอีกทางหนึ่งคือ  โดยผลของกฎหมาย ซึ่งมีจุดมึ่งหมายเพื่อประโยชน์สาธารณะ ( Public   Interest)  เช่น การเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างถนนซึ่งบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 42  การใช้สอยถูกจำกัดโดยการจำนำ การได้ดอกผลถูกจำกัดสิทธิโยสินสมรส     และโดยอายุความ กรณีเป็นหลักยกเว้นหลักถาวรของผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์  เช่น การแย่งการครอบครองปรปักษ์               


                                                                                                                               


 ปล. เป็นแค่แนวทางในการสอบครับ    เนื่องจากมีเวลาจำกัดในการจัดทำ    



สรุปแนวข้อสอบค่าเสียหายเชิงลงโทษ


จ.อ.นิคม   เภาพาน

หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต

มหาวิทยาลัยรามคำแหง  สาขาอำนาจเจริญ

 


สรุปค่าเสียหายในเชิงลงโทษ

          ค่าเสียหายเชิงลงโทษ  เป็นค่าเสียทางละเมิดประเภทหนึ่งที่แบ่งแยกประเภทตามความมุ่งหมายของการกำหนดค่าเสียหายทางละเมิด อันเกิดจากระบบกฎหมาย civil  law และระบบ common law    โดยแต่ละระบบกฎหมายมีจุดเริ่มต้นของค่าเสียหายทางละเมิดหรือที่มาของค่าเสียหายทางละเมิดที่แตกต่างกัน  กล่าวคือ

ค่าเสียหายทางละเมิดของระบบ  Civil   law   เกิดจากประมวลกฎหมายแพ่งของโรมันซึ่งตาม ทฤษฎีว่าด้วยหนี้  ( Theory  Of  Obligation) โดยถือว่าหนี้ละเมิดเป็นหนี้ประเภทหนึ่งของหนี้ในทางแพ่งที่คู่กรณีจะต้องมีการชดใช้แก่กัน   ส่วนค่าเสียหายทางละเมิดของระบบ common law  เกิดจากหมายเรียกคดีละเมิด ( Writ  Of  Trespass)   โดยถือว่าการกำหนดค่าเสียหายถือเป็นคดีเฉพาะเรื่อง 

          เมื่อมีที่มาหรือการเกิดของค่าเสียหายทางละเมิดแตกต่างกันทำให้ มีจุดมุ่งหมายของการกำหนดค่าเสียหายต่างกันไปด้วย  กล่าวคือ ระบบ civil law มุ่งหมายให้ผู้ละเมิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นในทำนองเดียวกับหนี้ตามสัญญา  โดยยึดและกำหนดค่าเสียหายตามความเสียหายที่แท้จริงซึ่งผู้เสียหายได้รับเป็นเกณฑ์ในการคำนวณค่าเสียหาย  ซึ่งมีเหตุผลเชื่อว่า ผู้เสียหายไม่พึงได้รับการชดใช้ค่าเสียหายเกินกว่าหนี้ที่ผู้ละเมิดมีต่อตน  ส่วนระบบ common law  ไม่ได้ยึดหลักตามทฤษฎีว่าด้วยหนี้ย่างเดียว แต่มีแนวความคิดทางอาญาเจือปนเข้ามาด้วย จึงส่งผลให้นอกจากจะกำหนดให้ผู้ละเมิดชดใช้ค่าเสียหายตามความเสียหายที่ผู้เสียหายได้รับแล้ว บางครั้งอาจกำหนดค่าเสียหายในส่วนที่เป็นการลงโทษผู้ทำละเมิดอีกด้วย

          ค่าเสียหายทางละเมิดแบ่งออกตามความมุ่งหมายของการกำหนดค่าเสียหาย ออกเป็น 2 ประเภท กล่าวคือ ค่าเสียหายแบบค่าสินไหมทดแทน (Compensatory Damages) และค่าเสียหายแบบเป็นโทษ (Punitive Damages)

          1.ค่าเสียหายแบบค่าสินไหมทดแทน (Compensatory Damages) เป็นค่าเสียหายในลักษณะ ค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ละเมิดจะต้องจ่ายชดใช้ให้แก่ผู้เสียหาย  เพื่อให้ผู้เสียหายได้กลับคืนสู่ฐานะเดิมก่อนถูกกระทำละเมิดให้ได้ใกล้เคียงมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ว่าจะเป็นกรณีความเสียหายที่ปรากฏในรูปของตัวเงินค่าใช้จ่าย รายได้ที่ขาดไป หรือความเสียหายที่ไม่เป็นตัวเงิน  ซึ่งการกำหนดค่าเสียหายแบบนี้เป็นหลักเกณฑ์ของระบบ civil law  ส่วนระบบ common law ถือหลักการผสมคือจะกำหนดค่าเสียหายแบบเป็นโทษตอบแทนแก่ผู้ละเมิดด้วย

          ค่าเสียหายแบบค่าสินไหมทดแทนมีลักษณะสำคัญ คือ

          ก. เป็นการชดใช้ทดแทนความเสียหายที่ผู้เสียหายได้รับจริงๆ

          ข. ฝ่ายผู้เสียหายต้องพิสูจน์ความเสียหายที่ตนได้รับให้ปรากฏต่อศาล

          ค. ในระบบกฎหมาย civil  law สามารถผ่อนชำระค่าเสียหายได้เป็นงวดๆ หรือเป็นรายปี  ส่วนระบบ Common  law ต้องชำระคราวเดียว

          2. ค่าเสียหายแบบเป็นโทษ (Punitive Damages)   เป็นค่าเสียหายที่กำหนดให้ผู้ละเมิดต้องใช้แก่ผู้เสียหายเพื่อตอบแทนความรุนแรงแห่งพฤติการณ์ของการกระทำละเมิด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการลงโทษผู้ละเมิดซึ่งมีพฤติการณ์จงใจไม่นำพาต่อกฎหมายและสิทธิของบุคคลอื่น  การกำหนดค่าเสียหายแบบนี้ เป็นหลักการของ common law โดยเฉพาะ อันเป็นการกำหนดค่าเสียหายเพื่อเป็นค่าสินไหมทดแทนและเพื่อลงโทษผู้ละเมิดควบคู่กัน

          ลักษณะสำคัญของค่าเสียหายแบบเป็นโทษ มีดังนี้

          ก. เป็นค่าเสียหายที่กำหนดลงโทษตอบแทนผู้ละเมิดเพื่อปรามไม่ให้ทำไม่ชอบเช่นนั้นอีก และยังไม่ให้ผู้อื่นเอาเป็นเยี่ยงอย่างด้วย

          ข. ฝ่ายผู้เสียหายไม่ต้องพิสูจน์จำนวนค่าเสียหาย แต่ศาลกำหนดให้ตามความเหมาะสมได้เองโดยพิจารณาจากความร้ายแรงแห่งละเมิด สภาพ และปริมาณความเสียหายที่ผู้เสียหายได้รับเอง กับฐานะทางเศรษฐกิจของผู้ละเมิด

          ค. เป็นค่าเสียหายที่เพิ่มเติมขึ้นนอกเหนือจากค่าเสียหายที่ชดใช้ทดแทนความเสียหายจริงๆ แต่ในบางคดีอาจไม่ปรากฏความเสียหายจริงที่จะทดแทน ศาลก็จะกำหนดแต่ค่าเสียหายแบบเป็นโทษให้เท่านั้น

          ง. กำหนดให้เฉพาะกรณีละเมิดที่มีพฤติการณ์รุนแรง  มีลักษณะการกระทำเช่นเดียวกับในคดีอาญา เช่น ใช้กำลังทำร้ายร่างกาย ข่มขู่หลอกลวง ฉ้อฉล โดยผู้ละเมิดจงใจให้เกิดความกระทบกระเทือนต่อจิตใจของผู้เสียหาย หรือมุ่งหมายให้ผู้เสียหายอับอายหรือถูกเหยียดหยาม

          ค่าเสียหายแบบเป็นโทษนี้ในระยะหลังทางคอมมอนลอว์  พยายามหลีกเลี่ยงไม่กำหนด  โดยเฉพาะในอังกฤษ  เห็นได้จากคำพิพากษาคดี Rooks V. Barnard โดยศาลสูงได้วางหลักเกณฑ์ค่าเสียหายแบบเป็นโทษมีได้  3  กรณีเท่านั้น  กล่าวคือ

          ก. คดีที่เจ้าพนักงานของรัฐจงใจทำละเมิดฝ่าฝืนกฎหมายรัฐธรรมนูญ หรือ

          ข. คดีที่จำเลยจงใจหวังผลกำไรเป็นจำนวนสูงกว่าความเสียหายที่โจทก์ได้รับจากการกระทำละเมิดของจำเลย เช่น คดี Cassell Co.Ltd. v Broome, 1972 จำเลยลงพิมพ์ข้อความเท็จมุ่งให้โจทก์เสียหายโดยจำเลยหวังรายได้จากการพิมพ์จำหน่ายเป็นจำนวนสูงกว่าค่าเสียหายที่คาดว่าจะต้องชดใช้แก่โจทก์

          ค. คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้จ่ายค่าเสียหายแบบเป็นโทษแก่ผู้เสียหาย

          ส่วนในประเทศไทยนั้นก็ได้มีการบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวกับค่าเสียหายแบบลงโทษเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากค่าสินไหมทดแทน  เช่น 

          ในพระราชบัญญัติความลับทางการค้า พ.ศ. 2545  โดยได้บัญญัติไว้ในมาตรา 13 (3) ว่า ในกรณีที่ปรากฎหลักฐานชัดเจนว่าการละเมิดสิทธิในความลับทางการค้าเป็นการกระทำโดยจงใจหรือเจตนากลั่นแกล้ง  เพื่อให้ความลับทางการค้าดังกล่าวสิ้นสภาพการเป็นความลับทางการค้า  ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้ละเมิดจ่ายค่าสินไหมทดแทนจากจำนวนที่ศาลกำหนดได้    แต่ต้องไม่เกินสองเท่าของค่าสินไหมทดแทน

          พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551  มาตรา 11   ได้กำหนดค่าเสียหายขึ้นใหม่เพิ่มขึ้นไปจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะละเมิด คือ  ความเสียหายต่อจิตใจอันเป็นผลเนื่องมาจากความเสียหายต่อร่างกาย สุขภาพ หรืออนามัยของผู้เสียหาย  ซึ่งหากจะว่ากันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะละเมิดอย่างเดียวไม่อาจจะเรียกได้

          ส่วนพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 42   ศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายเพื่อการลงโทษได้ไม่เกินสองเท่าของค่าเสียหายที่แท้จริงที่ศาลกำหนด  แต่ถ้าค่าเสียหายที่แท้จริงที่ศาลกำหนดมีจำนวนเงินไม่เกิน 50,000 บาท  ให้ศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายเพื่อการลงโทษได้ไม่เกิน 5 เท่า ของค่าเสียหายที่แท้จริงที่ศาลกำหนด

          จากพระราชบัญญัติต่างๆ เหล่านี้ทำให้เห็นว่าได้มีการบัญญัติให้ศาลมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อเป็นการลงโทษเพิ่มขึ้นจากจำนวนของค่าเสียหายที่แท้จริงตามที่ศาลเห็นสมควร  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการลงโทษผู้กระทำละเมิดโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ดังนั้นการนำเอาหลักเกณฑ์ของค่าเสียหายในเชิงลงโทษที่มีบังคับใช้อยู่ในระบบ Common  law มาบังคับใช้ในกฎหมายดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ากฎหมายไทยได้ให้การยอมรับในหลักเกณฑ์ของการกำหนดค่าเสียหายในเชิงลงโทษแล้วในระดับหนึ่ง

          ค่าเสียหายเชิงลงโทษ หรือที่เรียกว่า  ค่าเสียหายแบบเป็นโทษ เป็นการกำหนดค่าเสียหายในหลักการของระบบ common law  เพื่อเป็นค่าสินไหมทดแทนและเพื่อลงโทษผู้ละเมิด  ซึ่งเป็นค่าเสียหายแบบลงโทษที่เพิ่มเติมขึ้นนอกเหนือจากค่าเสียหายที่ชดใช้ทดแทนความเสียหายจริงๆ  โดยมีจุดประสงค์เพื่อปรามไม่ให้ทำไม่ชอบเช่นนั้นอีก และยังไม่ให้ผู้อื่นเอาเป็นเยี่ยงอย่างด้วย โดยที่ฝ่ายผู้เสียหายไม่ต้องพิสูจน์จำนวนค่าเสียหาย  ศาลกำหนดให้ตามความเหมาะสม และกำหนดให้เฉพาะกรณีละเมิดที่มีพฤติการณ์รุนแรง  ซึ่งปัจจุบันกฎมายไทยได้ยอมรับนำเอาหลักเกณฑ์ของค่าเสียหายในเชิงลงโทษในระบบ Common  law มาบังคับใช้  ดังจะเห็นได้จากการตรากฎหมายต่างๆ รองรับ เช่น พระราชบัญญัติความลับทางการค้า พ.ศ. 2545 


ปล. เป็นแค่แนวทางในการสอบเท่าครับบ.....
                                                                                               

สรุปแนวข้อสอบนิติกรรมลอย


 เอกสารเตรียมสอบเรื่อง นิติกรรมลอย

โดย จ.อ.นิคม  เภาพาน

หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต

 


     1. สรุปนิติกรรมลอย  

หลักกฎหมายที่ใช้อธิบายปัญหาว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ได้ตกลงซื้อขายกันจะผ่านมือไป

ยังผู้ซื้อเมื่อใดแตกต่างกันออกไป   กล่าวคือระบบคอมมอนลอว์ (เฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์)  มีหลักว่า ผู้ซื้อย่อมได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นไปทันทีที่สัญญาซื้อขายสำเร็จลง  ส่วนประเทศอื่นๆ  นอกจากจะมีสัญญาซื้อขายแล้ว  กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ซื้อขายกันจะโอนไปยังผู้ซื้อก็ต่อเมื่อผู้ขายได้ส่งมอบทรัพย์นั้นแก่ผู้ซื้อ  หรือได้กระทำการอื่นใดที่มีผลเท่ากับการส่งมอบแก่ผู้ซื้อแล้ว

          แต่สำหรับประเทศเยอรมันมีข้อกำหนดที่เป็นพิเศษยิ่งขึ้นไปอีก  คือจะต้องมีการตกลงระหว่างผู้โอนกับผู้รับโอนเป็นพิเศษด้วย  โดยคู่กรณีทั้งสองฝ่ายจะต้องตกลงให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ซื้อขายกันนั้นโอนจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อด้วย  ข้อตกลงนี้กฎหมายเยอรมันเรียกว่า สัญญาทางทรัพย์  ( Dinglicher  Vertrag)   ซึ่งสัญญาทางทรัพย์มีข้อแตกต่างจากสัญญาซื้อขายหรือสัญญาทางหนี้  เพราะผู้ขายเพียงแต่ผูกพันตนที่จะโอนทรัพย์ที่ตกลงซื้อขายกันให้แก่ผู้ซื้อ  ส่วนในสัญญาทางทรัพย์  ผู้ขายตกลงโอนทรัพย์ให้แก่ผู้ซื้อ   คือผู้ขายปฏิบัติการชำระหนี้ตามความผูกพันที่ทำไว้โดยผู้ขายตกลงกับผู้ซื้อ  ให้ผู้ซื้อได้กรรมสิทธิ์เหนือทรัพย์นั้น  และความมีผลของสัญญาซื้อขายหรือสัญญาทางหนี้กับผลของสัญญาทางทรัพย์แยกกันเป็นอิสระจากกัน   จึงเรียกได้ว่า สัญญาลอยทางทรัพย์     (Abstrakter   Dinglicher   Vertrag)  อันเป็นหลักกฎหมายของเยอรมัน

          หลักกฎหมายว่าด้วย  สัญญาลอยทางทรัพย์  กล่าวคือ เมื่อผู้ซื้อได้ทำสัญญา   ทางทรัพย์กับผู้ขายคือตกลงโอนกรรมสิทธิ์และได้รับมอบทรัพย์ที่ซื้อกันนั้นจากผู้ขายแล้ว  ผู้ซื้อย่อมได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้น  ถึงแม้ว่าสัญญาซื้อขายนั้นจะตกเป็นโมฆะมาแต่แรกหรือสิ้นผลไปเพราะถูกบอกล้างไปภายหลัง  หรือสัญญาซื้อขายนั้นไม่มีผลเพราะเหตุหนึ่งเหตุใดก็ตาม  ด้วยเหตุนี้จึงเรียกว่าข้อตกลงทางทรัพย์นั้นเป็นข้อตกลงที่  ลอย (Abstrakt)  หรือพรากจากสัญญาซื้อขายที่เป็นมูลเหตุของสัญญาทางทรัพย์นั้น  กล่าวคือ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่โอนกันโดยสัญญาทางทรัพย์นั้นย่อมจะโอนไปยังผู้ซื้อแล้วตั้งแต่ตกลงโอนและส่งมอบแก่กัน  โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่า  สัญญาซื้อขายไม่มีผลหรือมีผลมาแต่ต้นแล้วเสียไปภายหลัง  อย่างไรก็ดีแม้ในกรณีที่ผู้ซื้อจะได้ไปซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้น  แต่การได้กรรมสิทธิ์นี้เป็นการได้มาโดยสัญญาที่ไม่มีผล  เรียกได้ว่าเป็นการได้มาโดยปราศจากเหตุอันชอบด้วยกฎหมาย (Sine  Causa)  ด้วยเหตุนี้เขาจึงไม่ควรมีสิทธิ์ที่จะยึดถือทรัพย์นั้นไว้เป็นของตัวตลอดไป  และต้องมีหน้าที่คืนทรัพย์นั้นแก่ผู้ขายในฐานะที่ได้กรรมสิทธิ์มานั้นเป็น ลาภมิควรได้  อันเป็นกรณีตามมาตรา 812  แห่งประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมัน

          ในระบบกฎหมายของเยอรมัน หลักสัญญาลอยทางทรัพย์นี้มิได้ใช้เฉพาะเรื่องซื้อขายเท่านั้น  แต่ยังใช้กับกรณีสัญญาให้  แลกเปลี่ยน   หรือการโอนทรัพย์แก่เจ้าหนี้เพื่อประกันการกู้ยืม  หรือการโอนทรัพย์ แก่ทรัสตีเพื่อจัดการทรัพย์ด้วย  ซึ่งทั้งหลายเหล่านี้มีนิติกรรม 2 ประเภท  มาเกี่ยวข้อง   กล่าวคือ  นิติกรรมที่เป็นมูล  หรือ  นิติกรรมที่เป็นเหตุ อันได้แก่สัญญาทางหนี้  เช่น สัญญาซื้อขาย  สัญญาให้  สัญญาค้ำประกัน   หรือสัญญาตั้งทรัสต์    กับอีกประเภทหนึ่งคือ  นิติกรรมที่ทำให้สัญญาสำเร็จผล หรือ  นิติกรรมที่เป็นการปฏิบัติการชำระหนี้  อันได้แก่การโอนทรัพย์ ให้สำเร็จลุล่วงไปตามวัตถุประสงค์ของสัญญาที่เป็นมูล  ทีนี้ถ้าหากปรากฎว่านิติกรรมที่เป็นมูลนั้นตกเป็นโมฆะ  นิติกรรมอีกประเภทหนึ่งคือ นิติกรรมที่ทำให้สัญญาสำเร็จผล ก็อาจมีผลสมบูรณ์ได้  เพราะนิติกรรมประเภทหลังนี้เป็น นิติกรรมลอย แยกจากนิติกรรมที่เป็นมูลและด้วยเหตุนี้  ผู้ซื้อ   หรือผู้รับให้  หรือเจ้าหนี้  หรือผู้รับสัญญาค้ำประกัน   หรือทรัสตีผู้รับโอนทรัพย์ก็ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่โอนมาโดยบริบูรณ์ 

          กล่าวโดยสรุป สัญญาลอยทางทรัพย์  หรือ นิติกรรมลอย  เป็นหลักกฎหมายของเยอรมันที่อธิบายว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่โอนกันโดย  สัญญาทางทรัพย์ หรือนิติกรรมที่เป็นการปฏิบัติการชำระหนี้ นั้นย่อมจะโอนไปยังผู้ซื้อหรือผู้รับโอนแล้วตั้งแต่ตกลงโอนและส่งมอบแก่กัน  โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่า  สัญญาทางหนี้หรือ นิติกรรมที่เป็นมูล   ไม่มีผลหรือมีผลมาแต่ต้นแล้วเสียไปภายหลัง  อย่างไรก็ดีแม้จะได้ไปซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้น  แต่การได้กรรมสิทธิ์มาโดยสัญญาที่ไม่มีผล  ปราศจากเหตุอันชอบด้วยกฎหมาย  จึงไม่ควรมีสิทธิ์ที่จะยึดถือทรัพย์นั้นไว้  และต้องมีหน้าที่คืนทรัพย์นั้น  คำว่า นิติกรรมลอย  เป็นการบัญญัติศัพท์ โดย ดร.หยุด  แสงอุทัย



          2. สรุปความแตกต่างของระบบสัญญาเดี่ยวและสัญญาคู่

          ในการทำสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์  สัญญาให้  แลกเปลี่ยน   หรือการโอนทรัพย์แก่เจ้าหนี้เพื่อประกันการกู้ยืม  หรือการโอนทรัพย์ แก่ทรัสตีเพื่อจัดการทรัพย์  กฎหมายแพ่งเยอรมันได้แยกนิติกรรมออกเป็นสองประเภท คือนิติกรรมที่เป็นมูล  หรือ  นิติกรรมที่เป็นเหตุ หรือที่เรียกว่า สัญญาทางหนี้  กับ นิติกรรมที่ทำให้สัญญาสำเร็จผล หรือ  นิติกรรมที่เป็นการปฏิบัติการชำระหนี้หรือที่เรียกว่า  สัญญาทางทรัพย์ซึ่งเรียกว่า  ระบบสองสัญญาหรือสัญญาคู่  ซึ่งต่างจากฎหมายของไทย  ฝรั่งเศส  และคอมมอนลอว์  ซึ่งนำการกำหนดในการแสดงเจตนาว่าสมบูรณ์หรือไม่  มาเป็นตัวกำหนดการเกิดสัญญาซึ่งจะมีเพียงสัญญาเดียวเท่านั้น เรียกว่า ระบบสัญญาเดี่ยว

          2.1 การเกิดสัญญา

          ในระบบสัญญาคู่  เมื่อได้ตกลงทำสัญญาซื้อขายหรือสัญญาทางหนี้แล้ว กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ยังไม่โอนไปยังผู้รับโอนหรือผู้ซื้อ  จนกว่าคู่สัญญาจะต้องทำสัญญาทางทรัพย์อีกสัญญาหนึ่งและมีการส่งมอบตัวทรัพย์  กรรมสิทธิ์ถึงจะโอนไปยังผู้ซื้อหรือผู้รับโอน ซึ่งแตกต่างจากระบบสัญญาเดี่ยว กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ซื้อขายย่อมโอนไปยังผู้ซื้อทันทีที่ได้ตกลงทำสัญญาซื้อขาย  กล่าวคือ ล่าวคือารอันใดอันหนึ่งขึ้นอันพึ่งสันิษบานได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาสนองรับ  กฎหมายไทยสัญญาเกิดเมื่อมีการอันใดอันหนึ่งขึ้นอันพึ่งสันนิษฐานได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาสนองรับ กฎหมายฝรั่งเศสสัญญาเกิดเมื่อผู้เสนอรับทราบคำสนอง โดยพิจารณาจากคำสนองมาถึงภูมิลำเนาของผู้เสนอถือว่าสัญญาเกิด   กฎหมายคอมมอนลอว์ สัญญาเกิดทันทีที่ส่งจดหมาย  แม้ผู้เสนอจะยังไม่ทราบคำเสนอแม้กระทั่งคำสนองจะหายไปในระหว่างทาง   



          2.2 การเรียกคืนทรัพย์เมื่อนิติกรรมตกเป็นโมฆะ

                   ในระบบสัญญาคู่ หากปรากฏว่าสัญญาซื้อขายหรือสัญญาทางหนี้อันเป็นมูลของการโอนทรัพย์นั้นไม่สมบูรณ์ เพราะตกเป็นโมฆะด้วยเหตุที่นิติกรรมนั้นไม่ถูกต้องตามแบบ หรือต้องห้ามโดยบทบัญญัติของกฎหมาย หรือขัดต่อศีลธรรมอันดี หรือด้วยเหตุที่คู่กรณีมิได้มีเจตนาต้องตรงกัน หรือสัญญานั้นตกเป็นโมฆียะ (เพราะเหตุสำคัญผิดฉ้อฉล หรือข่มขู่) และถูกบอกล้างไปภายหลัง  ตามหลักว่าด้วย สัญญาลอยทางทรัพย์นั้นกรรมสิทธิ์ในสินค้าหรือในตัวเงินที่โอนกันย่อมจะโอนไปยังคู่กรณีแล้ว  ดังนั้นผู้โอนย่อมไม่อาจอ้างหลักกรรมสิทธิ์มาเป็นฐานในการเรียกทรัพย์คืนได้ต่อไป  จึงได้แต่เรียกให้ผู้รับโอนคืนทรัพย์ โดยอาศัยหลักว่าผู้รับโอนได้ทรัพย์นั้นไป โดยปราศจากมูลอันจะอ้างได้ตามกฎหมาย คือได้ทรัพย์ไปในฐานะเป็นลาภมิควรได้ และผู้รับโอนย่อมจะต้องคืนทรัพย์นั้นแก่ผู้โอน จึงสรุปว่าสิทธิเรียกให้ผู้รับโอนคืนทรัพย์สินที่ได้รับโอนไปตามสัญญาที่ไม่สมบูรณ์ย่อมไม่ใช่สิทธิเรียกร้องทางทรัพย์ ไม่ใช่การเรียกทรัพย์คืนโดยอาศัยหลักกรรมสิทธิ์ตามมาตรา 985 ป. แพ่งเยอรมัน  ผู้โอนคงมีแต่สิทธิเรียกร้องทางหนี้ต่อผู้รับโอน ในอันที่จะเรียกร้องให้ผู้รับโอนคืนทรัพย์แก่ตนตามหลักว่าด้วยลาภมิควรได้ (มาตรา812 ฯ ป.แพ่งเยอรมัน) เท่านั้น   ซึ่งแตกต่างจากระบบสัญญาเดี่ยว  กล่าวคือการทำสัญญาซื้อขายซึ่งเป็นสัญญาทางหนี้ มีผลทำให้กรรมสิทธิ์โอนไปยังผู้ซื้อทันทีที่ตกลงทำสัญญาซื้อขายหรือสัญญาทางหนี้กัน   โดยไม่ต้องไปทำสัญญาอะไรกันอีก  และหากสัญญาในทางหนี้ตกเป็นโมฆะ เพราะเหตุมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งด้วยกฎหมาย  หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดี  ถือว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นยังไม่ได้โอนไปยังผู้ซื้อ  กรรมสิทธิ์ยังอยู่ที่เจ้าของ  สามารถติดตามเอาคืนได้ตามหลักกรรมสิทธิ์ ตามมาตรา 1336 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์ของไทย

2.3 การโอนทรัพย์ไปยังบุคคลที่สาม  

       ในระบบสัญญาคู่ ประกอบด้วยสัญญาทางหนี้ และสัญญาทางทรัพย์ ในการโอนทรัพย์ไปยังบุคคลที่สาม  หากสัญญาทางหนี้ระหว่างผู้รับโอน(ผู้ซื้อ) กับบุคคลที่สามสมบูรณ์ และสัญญาทางทรัพย์มีการส่งมอบทรัพย์  กรรมสิทธิ์ย่อมโอนไปยังบุคคลที่สามทันที  ผู้ขายหรือผู้โอนจะไปฟ้องเอาคืนจากบุคคลที่สามไม่ได้   ซึ่งจะแตกต่างจากระบบสัญญาเดี่ยว โดยยึดหลักกฎหมายทั่วไป  หลักว่า  ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอนหากสัญญาซื้อขายตกเป็นโมฆะ   ถือว่ากรรมสิทธิ์ยังไม่โอนไปยังผู้ซื้อ  กรรมสิทธิ์ยังอยู่กับเจ้าของทรัพย์ เมื่อผู้ซื้อไม่มีกรรมสิทธิ์  บุคคลที่สามย่อมไม่มีกรรมสิทธิ์ดีกว่า  ผู้ขายสามารถติดตามเอาทรัพย์คืนจากบุคคลที่สามได้ตามหลักกรรมสิทธิ์   ตาม ปพพ. มาตรา 1336



 ปล.เป็นแนวทางงในการสอบเท่านั้นครับบบบ